Hyperfocal Distance

ความคิดเกี่ยวกับการโฟกัส ตามปกติเมื่อเราถ่ายภาพทั่วไปนั้น เราจะโฟกัสที่วัตถุหลักในภาพ หรือ วัตถุที่ต้องการให้ชัดในภาพ
ถ่ายคน ก็อยากให้คนชัด ถ่ายรถ ก็อยากให้รถชัด

แต่เมื่อ เรามาถ่ายภาพ ทิวทัศน์  เราก็อยากได้ภาพ ชัดทั้งภาพ (ภาษาเราๆ ก็เรียกว่า ชัดลึก)
ทีนี้ ภาพทิวทัศน์ หลายๆครั้งไม่ได้เป็นภาพที่มี Focal Point หรือ จุดนำสายตา หรือ ประธานหลักของภาพ   แต่   มันสวยด้วยบรรยากาศ รวมๆ

คำถามที่ตามมาคือ  ในเมืออยากจะให้เกิดชัดลึกสุดๆ แถมบางที อาจจะ ไม่มีวัตถุหลักในภาพ  แล้ว  จะต้องโฟกัสตรงไหน

วิธีคิด ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ จึง มีสองแบบ คือ
1. โฟกัสไปยังตำแหน่งที่ ทำให้เกิดชัดลึกครอบคลุมวัตถุที่ปรากฎทั้งหมดในภาพ
2. โฟกัส ที่ Hyperfocal Distance

Hyperfocal Distance คือ การโฟกัสที่ระยะๆ หนึ่ง ซึ่ง ทำให้เกิดระยะชัดไปจนถึง ระยะอนันต์ เป็นค่าแรก
ผลคือ ที่ ระยะ Hyperfocal นั้น ถือว่าเป็นระยะที่ก่อให้เกิดชัดลึกสูงสุดเท่าที่เลนส์ และกล้องสามารถทำได้ 

เช่น ถ้าเราต้องการถ่ายภาพ รูปปั้น หอคอย และท้องฟ้า  ให้ชัดทั้งหมด
หากเราโฟกัสที่รูปปั้น ที่ระยะใกล้ จะเกิดชัดตื้น หอคอยและท้องฟ้า จะไม่ชัด
หากเราโฟกัสที่หอคอย รูปปั้นจะไม่ชัด

เราจึงเลือกโฟกัสที่ระยะที่เกิดชัดลึกสูงสุด  ซึ่งเป็นระยะลอยๆ ไม่ได้โฟกัสที่วัตถุใด
ผลคือเราได้ภาพวัตถุทั้ง3ชัดทั้งหมด

วิธีหาระยะว่าจะโฟกัสตรงไหนถึงจะเหมาะสมนั้น  อาศัยการคำนวนหาขนาด วงกลมของความเบลอ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า  Circle of confusion ให้มีขนาดที่ เล็กจนตาแยกแยะไม่ได้
กับกล้องแบบต่างๆ ผ่านสูตร มุมสามเหลี่ยม  Sine Cos Tan สมัยเรียน
กันวุ่นวายชวนปวดหัวยิ่ง ถ้าไม่ได้จบวิศวะ มา อาจจะนึกภาพไม่ออก

ซึ่งปัจจุบันพอมีคอมพิวเตอร์  มือถือสมาร์ทโฟน การหา Hyperfocal Distance หรือ การคำนวนระยะชัด  นั้นง่ายมากครับ
เข้าไปที่เว็บ http://www.dofmaster.com/dofjs.html

ซึ่งจะบอกรายละเอียดการโฟกัสทั้งสองแบบ คือ ให้ครอบคลุมวัตถุที่ปรากฎในภาพ
และ Hyperfocal

หรือใครใช้ Smart Phone ทั้ง Android และ iPhone  ลองหาคำว่า dof หรือ Depth of Field
จะปรากฎ App ให้เลือกใช้งานมากมาย

ทีนี้ลองเข้าไปที่โปรแกรมคำนวน ( ภาพตัวอย่างมาจากเว็บ Dofmaster)
วิธีใช้งาน ก็ ง่ายๆ   กรอกรายละเอียดต่างๆ
1.  เลือก รุ่นกล้อง ( ถ้าไม่มีให้เลือกกล้องที่ขนาดเซนเซอร์เท่ากัน ความละเอียดใกล้เคียงกัน )
2. เลนส์ที่ใช้ ใส่ ค่า Focal length (mm)
3. ค่า f
4. ระยะ ที่จะโฟกัส
แล้ว กด Calcurate จะได้ ค่าระยะชัดด้านหน้าด้านหลังวัตถุ ออกมา
รวมถึง ค่า Hyperfocal ของเลนส์

ง่ายๆ แค่นี้เองครับ  เราก็จะได้ระยะชัดลึกสูงสุดตามที่เราต้องการ ภาพคมชัดทั้งภาพ

ทีนี้ ในชีวิตจริงเราคงไม่มานั่งคำนวนระยะชัดแบบนี้ กันกับทุกภาพที่เราถ่าย
ให้ลองดูค่าตัวอย่างสองค่านี้

ผมลองใช่ค่าเลนส์ไวด์ยอดฮิต ประมาณ 10 mm  บนกล้อง APS ที่เราใช้งานทั่วไป และ ใช้ f/8
ตั้งค่าให้โฟกัสไปที่ 1เมตร และ 20เมตร
สังเกตว่า Far Limit  ชัดไปถึง Infinity ทั้งคู่
ขณะ ที่ Near Limit  อยู่ที่ 40ซม. และ 64ซม.  จากกล้อง  ซึ่งต่างกันแค่ 24 ซม. และ
มีโอกาสน้อยมาก ที่ เราจะถ่ายภาพทิวทัศน์ แล้ววัตถุด้านหน้า จะอยู่ใกล้กล้องต่ำกว่า 1เมตร

ผลคือเราจะโฟกัสตรงไหน ตั้งแต่ 1-20 เมตร ด้วยค่าด้านบน ภาพก็ไม่แตกต่างกัน เพราะระยะชัดมันครอบคลุมพอๆกัน

ในการใช้งานจริง   ท่านอาจจะใช้วิธีเลือกค่าเลนส์ที่ท่านใช้บ่อยๆ  แล้วใส่ค่าดูว่า ขอบเขตระยะชัดโดยประมาณมีข้อจำกัดตรงไหนอย่างไร  แล้วจำเป็นค่าคร่าวๆไว้ โดยเมื่อเราใช้ f/8  ขึ้นไป
ในเลนส์ช่วงต่ำกว่า 24mm ลงมา มักจะเกิดชัดลึกสูงเพียงพอที่จะครอลคลุมภาพทั้งภาพได้ ทั้งหมดอยู่แล้ว ในยุคฟิล์ม สมัยก่อนอาจารย์ถ่ายภาพบางท่านจึงสอนโดยบังคับให้นักเรียน ถ่ายภาพโดยใช้ f/8  หรือ f/11

ส่วนตัวผม จะโฟกัสที่ระยะประมาณ 3เมตร f/11 เลนส์ ต่ำกว่า 24mm บนกล้องFull Frame
โดยใช้ค่านี้เสมอๆ และได้ผลดี ( อย่าลืมว่า เมื่อใช้ f/11 หลายครั้งเราจำเป็นต้องมีขาตั้งกล้อง )

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์

***บทความนี้ ผมเคยเขียนลงเว็บบอร์ดของผม ที่ปิดตัวไปแล้วครับ
ตอนนี้กำลังพยายามย้ายบทความทั้งหมด กลับมาไว้ในเว็บนี้
เพื่อให้เอาไว้อ่านกัน พร้อมกับแก้ไขเนื้อหาบางส่วนไปด้วยเลย