เรื่องปวดกระบาล ของ สมดุลแสงขาว (ฉบับแก้ไข)

White Balance หรือ สมดุลแสงขาว คือ ความพยายามที่จะถ่ายภาพวัตถุให้ออกมาสีถูกต้อง
เป็นธรรมชาติ ในสภาพแสงที่มีสีแตกต่างกันไป

เช่นภาพกราฟฟิคด้านล่าง ปกติ เมื่อสีใดๆ อยู่ในสภาพแสงขาว ( 5200 K ) วัตถุนั้นๆจะแสดง
สีได้ถูกต้อง คือเห็นสีขาว เป็นขาวแท้ เทา เป็นเทาแท้
หาก วัตถุไปอยู่ในสภาพแสง ที่มีสีแตกต่างออกไป เช่น แสงไฟสีส้มเหลือง โดยส่วนใหญ่
ตา+สมอง ของเราจะยังสามารถเปรียบเทียบชดเชยจนรู้สึกถึงสีได้ถูกต้องพอสมควร
แต่ กล้อง ไม่ได้ฉลาดขนาดนั้น (อีกแล้ว) ผลคือ ภาพในกล้อง สีจะเพี้ยนไปตามสภาพสีของแสง
มากกว่า ที่ตาเห็นมาก ทำให้วัตถุต่างๆในภาพ มีสีเปลี่ยนไปตามแสงที่ตกกระทบ ทำให้สีขาว ที่ควรจะอยู่กลางวงจรสี
หลุดออกนอกจุดกึ่งกลาง (คือไม่สมดุลนั่นละพวก)

เพราะฉะนั้นโดยพื้นฐาน ของระบบ WB คือ วิธีการกำหนดว่าตรงไหนเป็นวัตถุ “สีขาว” หรือที่เรียกว่า? White Point (จริงๆ
เป็นสีเทาอ่อนอะนะ) เพื่อจะได้ อ้างอิงว่าสีมีการผิดเพี้ยนไปเท่าใด แล้วประมวลผลแก้ไขสี
ของภาพให้ถูกต้อง ตามที่ควรจะเป็น หรือ คิดอีกแบบก็คือการ ผลักให้สีขาว กลับมาอยู่ที่แกนกลางที่ควรจะเป็น (เกิดสมดุล)

การกำหนด White Point เราสามารถกำหนดได้หลายแบบ
เช่น
1. AWB หรือ โหมด Auto White Balance คือ กล้องจะคำนวนว่า ในภาพจุดไหนที่น่าจะเป็น”สีขาว” ( White Point ) เอง
———————————————
2. เลือก ไอคอน ตามสภาพแสง เช่น ถ่ายกลางแจ้งก็เลือก ดวงอาทิตย์
ถ่ายในไฟทังเสตน ก็เลือกรูปหลอดไส้ เป็นต้น

———————————————
3. เลือกค่าองศา ของแสงไฟ เป็น เคลวิน (K)แบบนี้เหมือนวิธีที่สอง แต่ละเอียดกว่ามาก
———————————————
4. Custom WB คือ วิธีการ ถ่ายภาพภาพหนึ่งที่วัตถุทั้งภาพเป็นสีขาว ล้วน เช่นถ่ายกระดาษ
หรือ อุปกรณ์ แก้ WB อื่นๆ? จากนั้นกำหนดให้ภาพสีขาวภาพนั้น เป็น White point

ตัวอย่าง ถ่ายภาพวัตถุในสภาพแสงสีเหลืองส้มมากๆ

ได้ภาพออกมาแบบนี้

วางกระดาษ A4 ลงไปใช้เป็นภาพอ้างอิง จากนั้นเซ็ตภาพนี้เป็น Custom WB
แล้วเซ็ต ให้การแก้ไข WB เป็น Custom


ถ่ายภาพออกมา จะมีการแก้ไขสี ได้ถูกต้อง

รูปแบบมีทั้ง ที่ใช้ครอบเลนส์ ราคาแพง , กระดาษ A4, Gray Card? หรือแม้แต่ ใช้ขวดนม หรือ
ฝาเครื่องสำอางค์

————————————–
5. กำหนดจุด White Point จากโปรแกรม Process Raw โดยมืออาชีพจะใช้ Gray card
เพื่อ เป็นตัวอ้างอิงโดยการถ่ายสองภาพ ภาพหนึ่งมี Gray Card อีกภาพไม่มี แล้วปรับค่า WB ของทั้งสอง
ภาพให้เท่ากัน กรณีทั่วไปจะใช้วิธีหาวัตถุที่มีสีขาวเทาในภาพ เป็นจุด White Point

ตัวอย่างในภาพ เลือกจุด White Point ที่ขอบโฟมสีขาว
————————————

ทีนี้ปัญหามันเกิด ขึ้นได้ ( มันถึงได้ปวดหัว )

AWB หรือ โหมด Auto White Balance จะเพี้ยน เมื่อในภาพไม่มีวัตถุไหนเป็นสีขาวเลย เพราะกล้องจะไปเลือกจุดที่น่าจะเป็น
สีขาว-เทา ที่ไม่มีอยู่ในภาพมา

การเลือก อุณหภูมิสี หรือ ไอคอนสภาพแสง ก็ ลำบากเพราะสมองของเรา แอบชดเชยสภาพสี
ให้ตลอดเวลา ทำให้เรายังรู้สึกว่า เห็นวัตถุสีขาว เป็นสีขาว อยู่เสมอ ทำให้หลายกรณี เราไม่
สามารถแยกแยะสีของแสง จริงๆได้ว่าควรจะใช้ ไอคอนไหน หรือ เลือกอุณหภูมิสี กี่ เคลวิน

ส่วนระบบ Custom WB ที่ดูฉลาดสุดๆ ก็มีปัญหาว่า เมื่อแสงตกกระทบวัตถุในภาพ มีแสงสองสี
ต่างกัน ระบบพวกนี้ไม่สามารถแยกแยะสีที่แตกต่างกันเหล่านั้นได้ ระบบ Custom จึงเหมาะกับ
สภาพแสงเดียว เท่านั้น

ภาพตัวอย่างใช้โคมไฟสองดวง เป็น หลอดไส้ กับ หลอดตะเกียบ

ถ่ายออกมาจาก AWB ได้ภาพเพี้ยนๆ อย่างที่เห็น

ถ่ายกระดาษ A4 เพื่อทำ White Point ให้ระบบ Custom WB ยิ่งเห็นความเพี้ยนหนัก

ภาพ สุดท้าย ที่ได้ จาก Custom WB ไม่เวิร์ค

ซึ่งในชีวิตจริง สภาพแสงผสมมีให้พบอยู่มากมาย เช่น ในห้อง ที่มี
แสงไฟสีส้มจาก หลอดทังเสตน ปนอยู่กับ แสงสีฟ้าที่ลอดผ่านหน้าต่างเข้ามา

กรณีจิ้ม White Point ใน โปรแกรมก็มีเรื่องให้ชวนปวดหัวอีกเช่นกัน
เพราะกรณีที่เราไม่ได้ มี Gray Card มาตรฐาน
(ซึ่งหากเราถ่ายภาพทั่วๆไป คงไม่มีใครบ้า พก Gray Card ตลอดเวลา)
ผลคือ ตรงไหนเป็นสีขาวในภาพ นั้น เราต้อง มั่ว เอาอยู่ดี

จากตัวอย่าง ทุกคนใส่เสื้อสีขาว แต่ “ขาวต่างกัน” เมื่อเลือก White Point ต่างที่กัน ( จุดสีแดง )
ก็ส่งผลให้สีของภาพไม่เหมือนกัน

————————————————
การทำงานของระบบ WB แบบต่างๆ จึงเป็น “ตัวช่วยที่ดีมาก” ในการปรับค่า WB

แต่ ไม่ใช่ตัวเลือกสุดท้ายของการปรับ ให้ได้ภาพดีที่สุด

การปรับ WB บน โปรแกรม Porcess RAW แบบ manual ทั้งหลาย จึงเรียกได้ว่าเป็น
ทางออกที่ดีที่สุด เพื่อให้เราสามารถค่อยๆเลือก จุดของ WB ที่เหมาะสม
กับภาพหนึ่งๆ โดยให้สีของส่วนต่างๆในภาพ ดูไม่เพี้ยนมากเกินไป
หรือ อาจจะต้องรีทัชบางส่วนเพื่อแก้ไขสี ให้ดูเป็นธรรมชาติ

และในหลายกรณี ก็นำไปสู่ การปรับ WB เพื่อผลทางอารมณ์ ของภาพที่สร้างสรรได้มากขึ้น
กว่า กรอบความคิดแค่ว่า “สีถูกต้อง”

สวัสดี