ใครก็ได้ ช่วยหยุดความละเอียดที 3 (Resolution , Printing)

มาต่อกันเรื่องความละเอียด ที่เกี่ยวข้องกับงานพิมพ์
เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจและใช้ระดับความละเอียดของภาพได้เหมาะสม เมื่อต้องการจะนำไปพิมพ์ภาพ
.
ความละเอียด ของงานพิมพ์ ออฟเซต หรือ พิมพ์สี่สี ตามโรงพิมพ์คือ 300dpi (หรือมากกว่า) ตามที่ได้กล่าวไปเมื่อครั้งที่แล้ว
ความรู้ดังกล่าวส่งผลให้ คนมักจะพยายามเซ็ต ความละเอียดให้เท่ากับ หรือมากกว่า 300dpi เสมอโดยไม่ได้สนใจว่างานที่ต้องการนั้น จำเป็นต้องใช้ความละเอียดมากขนาดนั้นหรือไม่
โดยเฉพาะการนำภาพไปอัดตามร้านถ่ายภาพ ซึ่งจริงๆ มีความแตกต่างจากระบบการพิมพ์สี่สีอย่างมาก
.
การเก็บภาพในคอมพิวเตอร์ นั้นจะเก็บสีต่อหนึ่งจุดได้แตกต่างกัน ถึง 16 ล้านสี
เนื่องจาก ในหนึ่งจุดจะแสดงค่าสี RGB รวมกันออกมาในจุดๆเดียว
.
ระบบงานพิมพ์ออฟเซต มีวิธีการแสดงผลแตกต่างกันออกไป เนื่องจะระบบออฟเซต ใช้วิธี “ผสมสีทางสายตา”
หรือ ที่เราเรียกว่า “เม็ดสกรีน” เรียกภาษาอังกฤษ ว่า Dot ink
คือสีหนึ่งสีที่เราเห็น เกิดจากการผสมสีทางสายตาของจุดสี C M Y K
ตรงนี้เอง ที่เป็นจุดที่ทำให้การกำหนดขนาดไฟล์ภาพในการไปทำงานพิมพ์ จำเป็นต้องมีความละเอียดสูง
เนื่องจาก ขั้นตอนการ เปลี่ยนจากจุด pixel ไปเป็นเม็ดสกรีน จะทำให้เกิด การสูญเสียความคมชัดไป “อย่างเห็นได้ชัด”

มีค่า อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ คนทั่วๆไป”สับสน” คือค่าความละเอียดของ Inkjet? Printer ที่สูงถึง
1440 x 1440 dpi หรือ? 5760×1440 dpi พออ่านได้ดังนี้
ก็มีบางคน เริ่ม scan ภาพ ความละเอียดสูงถึง 1200 dpi เพราะบอกว่าจะได้เอามาพิมพ์
กับเครื่อง inkjet ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด….. ตูละกลุ้ม….
.
ในความเป็นจริงๆ ค่า dpi บนเครื่อง Printer เป็นการบอกจำนวน Dot ink (จุดหมึก) ในระยะ 1นิ้ว ของสีหมึกทั้ง 4 สี หรือ 6สี (ขึ้นกับ รุ่น inkjet)
ซึ่งความละเอียดดังกล่าว ไม่ได้คงตัว? เนื่องจากบางกรณี สีบางสี จะใช้สีในการผสม แค่ 1 หรือ 2 สี
ความละเอียดย่อมจะลงลงตามจำนวนสีที่เหลืออยู่
.
แถมจำนวนจุดหนึ่งจุด ยังแสดงสีได้จริงๆ แค่ 1 สี แต่ใช้ขนาดของหยดหมึก ผสมกับสีขาวของกระดาษ เป็นตัวไล่สีแทน
ด้วยเหตุนี้เอง การพิมพ์ภาพขาวดำ บน Inkjet printer ไม่สามารถเทียบได้กับการอัดภาพขาวดำบนกระดาษอัดภาพเลย
เนื่องจากในส่วน Highlight จุดสีดำจะมีขนาดเล็กลง และไม่มีการผสมกับสีอื่นๆ ทำให้ภาพที่ได้ความละเอียดต่ำ
inkjet แพงๆ บางรุ่นจึงต้องทำ “สีเทา” เพื่อมาผสมให้เกิดการไล่สีดีขึ้น

นอกจากนี้ความละเอียด ในสองทิศทางของ Inkjet ไม่เท่ากัน คือความละเอียดทางขวางมักจะน้อยกว่าทางตั้งมาก
ความละเอียดของ? Inkjet? Printer จึงไม่ได้สูงมาก อย่างตัวเลขที่แสดงไว้ (เรียกได้ว่า เป็นคนละหน่วยกัน)
.
ความแตกต่าง ขอระบบการอัดภาพตามร้านถ่ายรูป กับ ระบบออฟเซต คือ
การแสดงสีต่อจุดของระบบเลเซอร์ที่ใช้อัดภาพ
คือ สามารถสร้างสีที่จุดๆหนึ่งได้มากมายเหมือนกับระบบการเก็บไฟล์ภาพดิจิตอลเนื่องจาก
ใช้วิธีการ ยิงแสงเลเซอร์ ลงไปบนเนื้อกระดาษ ที่มีชั้นของสี ซ้อนกันอยู่
การอัดภาพดิจิตอล ด้วยระบบเลเซอร์ จึงส่งผลให้สูญเสียความละเอียดน้อยกว่าในการพิมพ์งานออฟเซต
.
นอกจากนี้ ในปัจจุบันความสามารถในการประมวลผลเพื่อ “ลบเหลี่ยมมุม”ก็สูงขึ้นมาก
เราจึงสามารถขยายภาพขนาดใหญ่ได้โดยไม่เกิดเหลี่ยมมุมให้รำคาญตา
.
กรณีที่เราขยายภาพขนาดใหญ่ ที่ดูเหมือนว่าความละเอียดจะมีความจำเป็นสูง
เพราะถ้าขยายใหญ่มาก รูปจะเห็นความไม่ละเอียดของไฟล์ชัดขึ้น
แต่จริงๆแล้ว ยิ่งภาพขนาดใหญ่ ยิ่งทำให้เราสามารถลดความละเอียดลงได้มาก
เนื่องจาก ยิ่งภาพมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าใด ระยะการมองก็จะยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ซึ่งส่งผลให้ ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องอัดภาพ ขนาดใหญ่ ด้วยความละเอียดสูงอย่างที่เข้าใจกัน
คงไม่มีใครอยากดู ว่ารูขุมขนรูไหนของนางแบบกำลังอุดตัน

ความละเอียด 300dpi นั้น ใช้งานเพื่อการดูภาพที่ระยะ 25 cm เป็นมาตรฐาน (อ่านหนังสือ) อะไรที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะดูได้จาก ระยะ 25 cm จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ความละเอียดมากถึง 300 dpi
(ถึงแม้ เทคโนโลยีการอัดภาพด้วยเลเซอร์ปัจจุบันจะอัดภาพได้ความละเอียดสูงถึง 600dpi )
.
อย่างไรก็ดี หากอ่านเรื่องนี้แล้ว อยากพิสูจน์
ให้ลอง ทำไฟล์ภาพ ใช้ต้นฉบับเดียวกัน ไปอัด 4×6 ดูสัก สามภาพ โดย
โดยมี ขนาด? 1200×1800 pixel (300dpi)?? 800x1200pixel (200dpi)? และ 600x900pixel (150dpi)
มาเปรียบเทียบกันดู ด้วยตาเปล่า ว่าภาพไหนความละเอียดสูงกว่ากัน
หรือจะเล่นสนุกขำๆ ให้ญาติพี่น้อง เดาว่าภาพไหนละเอียดกว่ากันก็ยังได้
.
หยุดความละเอียดไว้เท่าที่จำเป็น? แล้วใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ค่าความละเอียด แบบต่างๆ ใช้งานให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และประหยัดทรัพยากร
จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เราทำงานได้ ฉลาดขึ้น รวดเร็วขึ้น โดยได้ผลลัพธ์คุณภาพสูง
.
สวัสดี