White Balance กับ Tone Curve


หลายๆท่านที่ถ่ายภาพมาพักใหญ่ คงพอจะเริ่มคุ้นเคยกับการปรับแต่งสี ด้วยโปรแกรมต่างๆ หลายๆโปรแกรม
รวมถึง ระบบการจัดการ WB ทั้งใน computer และใน การจัดการ สมดุลแสงขาว ( AKA – White Balance ตัวย่อ WB ) บนโปรแกรม Process RAW ไฟล์

โดยหลายๆท่าน ที่หาอ่านข้อมูลตามเว็บ ก็จะเกิดความสับสนได้ง่าย เนื่องจากหลายๆคนที่ใช้งาน PS ได้ประมาณหนึ่ง
รวมถึงเว็บไซด์ถ่ายภาพหลายๆเว็บ ได้เขียนบทความแนะนำการใช้งาน Tone Curve ใน Photoshop โดยใช้ Eye dropper (ตัวดูดสี) สีเทา
เป็นตัวจัดการ

แล้วเรียกวิธีการดังกล่าวว่า “การแก้ WB” ซึ่ง การใช้ Tone Curve เพื่อแก้ไข WB นั้น อาจจะเรียกได้ว่า ถูกต้องแค่บางส่วน
และ สำหรับกรณี การใช้ Eye Dropper นั้น จะไม่ได้ผล หากเราไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสม

ปกติ Gamut (พื้นที่สี) ของ sRGB (สีที่แสดงผลบนจอทั่วไป) จะเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยที่มุมของสามเหลี่ยมนั้นคือตำแหน่งที่มีค่าสี R 255 (สีแดง)
หรือ G 255 (สีเขียว) หรือ B 255 (สีน้ำเงิน)  โดยมีสีอื่นๆ เป็นส่วนผสมของ ค่า RGB เช่น

จากรูปตัวอย่าง สี เขียวด้านบน ช่องกลาง มีค่า RGB เป็น R 137 G 184 B69

ในการปรับ Tonecurve นั้น การคำนวณเพื่อแก้ไขค่าสี จึงเป็นการ เปลี่ยนแปลงผ่านค่า RGB ตามรูปทรงของ Tone Curve
จึงเห็นได้ว่า เมื่อเราดึงค่า ที่ตำแหน่ง 137 (Input) เฉพาะ  Channel Red ให้กลายเป็น 191 (Output)

ค่า RGB จึงเปลี่ยนจาก R 137 เป็น R 191 โดย  อีกสองค่า คือ G และ B ยังคงเป็น  G 184 B 69 เท่าเดิม

————————————————————————————-
หากไปดูคุณลักษณะ ที่ต่างออกไป ของค่า อุณหภูมิสีของแสง ในหน่วย เคลวิน (K)
ซึ่งเป็นค่าสีของแสงที่เกิดจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยอ้างอิงจากแหล่งกำนิดแสงจริง (การเผา Black Body)
เส้นการเปลี่ยนแปลงค่า K นั้น จะเป็นเส้น โค้ง โดยถึงจุดหนึ่ง จะกลายเป็นสีน้ำเงินหนึ่งที่ อุณหภูมิสี ที่อนันต์
(แปลความหมายได้ง่ายๆคือ ในความหมายคือ สีจะไม่เพี้ยนไปมากกว่าจุดนั้นอีกต่อไป)

การแก้ไข ค่า WB นั้นจึงไม่ใช่การคำนวนผ่าน ค่า RGB ตรงๆ เหมือน Tone Curve แต่ คำนวนผ่าน เส้นโค้ง ของค่า อุณหภูมิสีของแสง ( K ) ทีเปลี่ยนแปลงไป
ผลคือ ในกรณีที่สีของภาพนั้น ผิดเพี้ยนไป  เพราะ สีของแสง การปรับแก้ WB จะให้ผลออกมาเป็นธรรมชาติมากที่สุด
นึ่จึงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ RAW ไฟล์ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการปรับแต่งภาพที่ต้องการคุณภาพสูง

ต่อไปเป็นตัวอย่างภาพ ที่ผ่านการปรับแต่งในรูปแบบต่างๆ บน Tone Curve เปรีบเทียบกับการปรับ WB ผ่าน RAWไฟล์ นะครับ
โดยไฟล์ภาพนั้น ถ่ายโดยใช้ แสงหลอดไส้ (หลอด Taungstan) ใช้ WB บนกล้องเป็น Dayllight เพื่อให้  WB ผิดพลาด และ ถ่ายมา เป็น RAW + JPG เพื่อให้ได้ภาพเดียวกันมาปรับแต่ง RAW ไฟล์ เปรียบเทียบ กับการปรับแต่ง JPG

ภาพ 1. เป็นภาพ JPG Original จากกล้อง ย่ออย่างเดียว จะเห็นว่าติดเหลืองส้ม มาก ทั้งภาพ

—————————————————————————
ภาพ 2. เป็นภาพที่ใช้ ไฟล์ JPG มาปรับแต่งด้วย คำสั่ง Auto Color ใน Photoshop
จะเห็นว่า ในภาพตัวอย่างนี้ ใช้ไม่ได้ผล ภาพส่วนที่สว่าง ยังติดสีแดงเยอะ แถมโทนภาพโดยรวม มืดลง

—————————————————————————
ภาพที่ 3 ผมใช้ Eyedropper สีเทากลาง ซึ่งเป็น วิธีแก้ไขสีอัตโนมัติอันหนึ่ง ใน Tone Curve ของ Photoshop เลือกลงไปที่ ช่องสีเทากลางบนกระดาษ
ผลคือ คอนทราสของภาพเปลี่ยนไป และสีบริเวณสว่าง ติดแดง อย่างเห็นได้ชัด
ผมทดลองใช้ Eyedropper สีดำ และสีขาว ช่วย โดย ทดลอง เลือกสีขาว บริเวณแสงที่สะท้อนบนกระดาษ กับสีดำบนช่องสีดำสุดท้าย
ภาพยิ่งผิดเพี้ยนหนัก

—————————————————————————
ภาพที่ 4 ผมใช้วิธี ค่อยๆปรับแก้ Tone Curve RGB เอง จะเห็นได้ว่า
รูปทรงของเส้นกราฟค่อนข้าง “ยาก” สำหรับคนที่ยังปรับสีไม่เก่ง และดูไม่ออกว่า โทนใดควรจะแก้สีใด ภาพที่ได้ค่อนข้างเป็นธรรมชาติ
แต่ก็ยังไม่ถูกต้อง 100%

—————————————————————————
ภาพที่ 5 ภาพสุดท้าย นี้เป็นการปรับแต่ง RAW ด้วย RAW Converter ใน Photoshop  โดยปรับแต่งเฉพาะค่า White Balance
จะเห็นได้ว่า สีของภาพนั้น ออกมาเป็นธรรมชาติมาก เนื่องจากระบบคำนวน ที่อ้างอิง คุณลักษณะการเปลี่ยนแปลง ของ “อุณหภูมิสีของแสง”
ไม่ใช่ การเปลี่ยนค่า RGB แบบตรงไปตรงมา


—————————————————————————
สรุป
จากที่เคยปรับภาพมาหลายหมื่นรูป ผมมั่นใจว่า การปรับแต่ง WB  นั้น “ดีที่สุด” สำหรับแก้ไขสีของภาพที่ผิดเพี้ยนไปจากสภาพแสง
หากเรามีอุปกรณ์ ที่เหมาะสม เช่น Gray Card หรือ White Balance Card ที่ได้มาตรฐาน จะช่วยให้การแก้ไข WB ทำได้ง่ายขึ้นอีกมาก
โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือความชำนาญมากมายนัก

อย่างไรก็ดี … ในหลายๆกรณี ที่เราต้องการปรับแต่งสีของภาพให้เกิด Effect ที่แปลกตา Tone Curve นั้น ให้อิสระกว่ามากในการจัดการ
ปรับแต่ง เพื่อให้เกิดสีสรร ที่แปลกตา และสร้างสรร

ปกติเวลาผมถ่ายภาพ ผมจะถ่าย เป็น RAW ปรับ WB ให้ถูกต้อง หรือ ติดโทนอุ่นหรือเย็น ให้ได้อารมณ์ของสภาพแสง
เนื่องจากจัดการได้ง่าย และเร็ว กว่ามากครับ จากนั้น ค่อยใช้ Tone Curve ในการปรับแต่งภาพ ให้ได้สีสรรแปลกตา

หวังเป็นอย่างยิ่งครับว่า ท่านๆทั้งหลายจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ครับ

ใครอ่านแล้วมึน ตามไม่ทัน ก็เป็นไปได้ว่า ยังขาดพื้นฐานในด้านการ Process ภาพอยู่เยอะ
ใช้ Tone Curve ยังไม่เป็น  หัดไว้ก็ดีครับ ยุคนี้ จำเป็นสุดๆ