Composition 4 องค์ประกอบในภาพ / สี

1.8 สี ! เรื่องนี้ คงเป็นเรื่องที่ ยากสุด เรื่องหนึ่ง ด้วยความหลากหลาย ที่สร้างสรรได้ไม่รู้จบ และ เป้นตัวสำคัญสุดในการถ่ายภาพ เพราะ มีผลต่อความรู้สึกของมนุษย์ได้่ง่าย

คำศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสี มีดังนี้

1.Primary แม่สี ในทางด้านความงาม เรามองสี โดยใช้แม่สีทางความรู้สึก คือ สี แดงเหลืองน้ำเงิน ( RYB Red Yellow Blue )
โดย แดง R ผสม เหลือง Y ได้ส้ม
เหลือง Y ผสม น้ำเงิน B ได้ เขียว
น้ำเงิน B ผสม แดง R ได้ม่วง

2. Hue คือการเปลี่ยนสี หรือ ความแตกต่างของสี เช่น แดง เขียว ฟ้า เหลือง นี่คือ Hue ต่างกัน

3. Tone คือความสว่าง หรือ มืด จะเห็นว่า สีแดงยังคงเป็นสีแดง แต่เปลี่ยนเป็นแดงเข้ม( มืด ) หรือ แดงอ่อน (สว่าง)

4. Saturation แปลได้ว่า ความสดของสี หรือ ความอิ่มตัวของสี
ตีความง่ายๆว่า สีใดๆ ที่มี ความสดลดลง จะกลายเป็นสี "เทา" โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง tone (ความสว่าง)
ในตัวอย่างจะเห็นได้ว่า สีของน้ำในขวด ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงระหว่าง สีเทา (ภาพขาวดำ) กับ สีสด

เมื่อคุณลักษณะ ของสี ทั้ง4อย่าง มารวมตัวกัน ( อย่างกับหนังแปลงร่าง )

จะเกิดเป็น วงจรสี

โดย มี Hue เป็นจานวงกลม อยู่รอบๆ แกนสีขาวสีดำ การเปลี่ยน Hue คือการทำให้สีเคลื่อนไป รอบๆ แกนขาวดำ

ขณะที่ การลด Saturation (ความสด) คือการ ลดปริมาณสี แต่ความสว่าง ( Tone ) เท่าเดิม
ผลคือ ในวงจรสี การลด Saturation คือการทำให้สี เคลื่อนที่เข้าหาแกนกลาง ขาวดำ

และ ตัวสุดท้าย คือ Tone
โดยจะเห็นว่า ในภาพ สีแดงสด เมื่อสว่างขึ้น จะกลายเป็นสีขาว และมืดลงจะกลายเป็นสีดำ

ตรงนี้เองที่เป็นจุดที่ อาจทำให้เกิดความสับสน เพราะการสว่างขึ้นนั้น ทำให้ปริมาณสี "ลดลง" ด้วย
การเปลี่ยนโทน จึง เป็นการเปลี่ยนพร้อมกันสองอย่างคือ ความสว่าง และ ความสด

Color Scheme ชุดของสี

มีความพยายามในการที่จะสร้าง "ชุด" ของสี ว่ามันมาอยู่ด้วยกันได้อย่างไร แต่ละสีอยู่ด้วยกันแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง
รวมถึงการวิเคราะห์ว่า ทำไมมันถึง "สวย"
เกิดเป็นชื่อเรียก และ ลักษณะ ต่างๆขึ้นมา เช่น สี Monochromatic ชุดสีเดียว (แดงก็แดงหมด แค่ เข้มอ่อน สดซีด ต่างกัน)
หรือ Complementary สีคู่ตรงข้าม แดงตรงข้ามกับเขียว ก็จะได้สีที่ตัดกันแรง
หรือจับชุดเป็น Primary แม่สี ก็จะให้สีที่สดใส ดูเด็กๆสดใส

สุดท้าย แล้วพอเราไปดูงานอาร์ต ภาพวาด หรืองานกราฟฟิค ต่างๆในชีวิตจริง มันก็ไม่ได้จำเป็นว่า ต้องเป็นสีคู่ตรงข้ามเสมอ
งานบางอย่าง ก็มีสีมากมายแทบจะครบทั้งวงจรสี งานบางอย่างก็มีสี ที่ไม่ได้เป็นคู่ตรงข้ามกัน แต่ออกมาดูแล้ว ตัดกันแรงดี

ความคิดเกียวกับการเลือกใช้สีง่ายๆอีกแบบจึงเป็น มุมมองง่ายๆ ว่า
สีใดก็ตาม ที่อยู่ใกล้กันในวงจรสี จะไปด้วยกันได้ดี สีใดก็ตามที่อยู่ไกลกันในวงจรสี จะตัดกันแรง
โดยเราจะนึกถึง วงจรสีเป็นรูป ลูกบอล ทรงกลม ตามแบบ ภาพด้านบน

เช่น ขาวกับดำ อยู่ไกลกัน ตัดกันแรง
ส้มกับน้ำเงิน อยู่ไกลกัน ตัดกันแรง
แต่ น้าเงินกับเขียว อยู่ใกล้กัน ไปด้วยกันได้ดี

สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราลด Saturation ในภาพ (ทำให้ภาพซีดลง) จะเห็นได้ว่า สีต่างๆ ก็จะ หดตัวเข้าใกล้แกนขาวดำมากขึ้น ผลคือ สีต่างๆนั้น ดูเข้ากันได้ดีกมากขึ้น

หรืออีกกรณีคือ การทำให้ภาพ ติดไปสีใดสีหนึ่งทั้งภาพ ก็ทำให้สีตัดกันน้อยลงเช่นกัน 🙂

ในแง่รายละเอียด ยังมีเรื่องปริมาณของสีที่ปรากฎในภาพอีกครับ ว่า มีมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความรู้สึก บอกไม่ได้ เป๊ะๆ ว่า แค่ไหนคือดีไม่ดี

ในการถ่ายภาพ สีก็เกิดจากสองส่วนคือการทีเราเลือกองค์ประกอบในภาพ
เช่น

ภาพสองภาพนี้ เป็นสีคู่ตรงข้าม ฉากหลังสีเขียว วัตถุที่เป็นสีแดงซึ่งเป็นคู่ตรงข้าม จึงเด่น
แต่ กล่องจดหมายให้ความรู้สึกรุนแรงกว่า เพราะสีสด ขณะที่ดอกไม้ให้ความรู้สึกนุ่มนวลกว่า เพราะสีซีด

หรือสองภาพนี้ สีวัตถุอยู่ใกล้กันมากในวงจรสี เป็นสีฟ้ากับเขียวใกล้ๆกัน กับ น้ำตาล ใกล้ๆกัน เลยดูไปด้วยกันได้ดี

อีกส่วนในการใช้สี คือการ Post Process
จะเห็นว่าภาพเดียวกัน อารมณ์ของภาพ แตกกต่างกันไปไป คุณลักษณะของสีที่ปรากฎในภาพ