Tag Archives: เรียนถ่ายรูป

คิดก่อนถ่าย

4-5 ปีก่อน หลายคนคงทันกระแส “โลโม่” ที่มีคอนเซป Don’t think just shoot แนวว่า ให้ใช้สัญชาติญาณ กดๆไป กล้องไม่ต้องปรับ

บางคนเอาคอนเซปเดียวกันนี้ มาใช้แบบ มั่วๆ ไม่เข้าใจ
คิดแต่ว่า ตู “ติส” ไม่ต้องคิด เดียวสวยเอง
Continue reading คิดก่อนถ่าย

Ray Light Photoshop Retouch แบบถึกอึดทน

วันก่อน นักเรียนเก่าที่ซี้กัน ถามวิธีรีทัช แสงเป็นแฉกๆ หรือที่เรียกกันว่า Ray Light เข้ามาทาง FB ผมก็ทำแบบด่วนๆส่งให้ดูและอัพภาพขึ้นแฟนเพจ ปรากฎว่ามีนักเรียคนอื่นๆ สนใจอยากรู้วิธีการด้วย
ด้วยความที่ขี้เกียจเขียน หลายรอบ เลยตัดสินใจว่าเขียนเป็นบทความลงเว็บไว้ซ่ะเลยแล้วกัน เชิญพบกับวิธีการทำ แสงแฉก แบบถึกอึดทนซุปเปอร์บริ๊งๆ นะบัดนาว
Continue reading Ray Light Photoshop Retouch แบบถึกอึดทน

การเลือกซื้อจอ LCD สำหรับแต่งภาพ ตอนที่1

// บทความนี้ผมเขียนลงวรสารของสมาคมธุรกิจการภ่ายภาพ ที่พิมพ์แจกจ่ายให้สมาชิกทั่วประเทศครับ
วันนี้เอามาแปะให้อ่านกัน โดยแบ่งเป็นสองตอนนะครับจะได้ไม่ยาวเกินไป ติดตามตอนที่ 2ได้เร็วๆนี้ //

จอ LCD สำหรับการแต่งภาพเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เรา สามารถปรับแต่ง สีภาพให้ตรงกับงานพิมพ์ และควบคุมผลงานภาพถ่ายของเราให้ตรงใจลูกค้า
เมื่อก่อนนั้น จอ CRT หรือที่เราเรียกภาษาทั่วไปว่า จอป่อง มีคุณลักษณะที่ดีอย่างหนึ่งคือมีความสามารถในการให้สีที่ดีและมีประสิทธิภาพเท่าๆกัน ในทุกยี่ห้อ เพราะมีเทคโนโลยีพื้นฐานเหมือนกัน แต่จอ LCD ปัจจุบันนั้น มี หลากหลายเทคโนโลยี และราคา จนอาจจะทำให้ท่านผู้อ่านเกิดความสงสัยว่าแล้วซื้อแบบไหนดี แบบไหนเหมาะกับการแต่งภาพ แล้วมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร
Continue reading การเลือกซื้อจอ LCD สำหรับแต่งภาพ ตอนที่1

Composition 13 หลักการจัดองค์ประกอบ / Proportion

Proportion หรือ สัดส่วน

Continue reading Composition 13 หลักการจัดองค์ประกอบ / Proportion

Composition 12 หลักการจัดองค์ประกอบ / Eye Leading

การนำสายตา นี่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการจัดองค์ประกอบที่ ฮิตสุดๆครับ
โดยพื้นฐานก็ง่ายๆว่า เรามักจะมีองค์ประกอบที่เป็น “Focal Point” หรือจุดที่สำคัญสุดในภาพ แล้วมีการนำสายตาเข้าไป หาจุดนั้น
ดังภาพตัวอย่าง โดยการนำสายตาส่วนใหญ่จะใช้ “เส้น” เป็นตัวนำสายตาครับ

เส้นที่ชัดเจน ก็ทำให้เกิดการนำสายตาที่ แข็งแรง คนดูสามารถรับสารได้ตรงไปตรงมา ว่า ตรงไหนคือ องค์ประกอบหลักในภาพ

อย่างไรก็ดีครับ การนำสายตา ไม่จำเป็นต้องมี Focal Point หรือจุดหลักในภาพเสมอไป
และไม่จำเป็นต้องมี เส้น เสมอไป

สำหรับภาพทิวทัศน์ บางครั้งการนำสายตา นั้น กานนำสายตา อาจจะเป็นแค่การดึงให้ผู้ชม ค่อยๆไล่สายตาไปตามเนื้อหาในภาพ
อย่างภาพนี้ แนวก้อนหิน เชื่อมไปมาระหว่าง ก้อนหินด้านหน้า กับ Space (ที่ว่าง) ด้านหลัง


หรือบางทีก็อาจจะเป็น Conceptual ของ เส้น เชื่อมต่อกับ Space

ภาพบางภาพ อาจะปรากฎการนำสายตา มากมาย ในภาพ
เป็นเทคนิคการจัดองค์ประกอบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมมาก และ สร้างภาพที่มีความน่าสนใจได้ดี
จนถึงกับมีหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับการนำสายตานี้ เป็นเล่มๆ เลยทีเดียว 🙂
ใครชอบภาพทิวทัศน์ ลองวิเคราะห์ ภาพเป็นการนำสายตาแบบนี้ ก็สนุกไปอีกแบบครับ