ภาษากล้อง สำหรับมือใหม่ HDR

HDR บ้างก็เรียก HDRI

ย่อมาจาก High Dynamic Range หรือ High Dynamic Range Image

เพราะงั้นก่อนจะรู้ว่า HDR คืออะไร
เราต้องรู้จัก? “Dynamic Range” ก่อน

————————————————

Dynamic Range หมายถึงช่วง ของความ มืด – สว่าง
ที่ สิ่งใดๆ สามารถสร้างขึ้นมา หรือ แยกแยะความแตกต่างได้
เช่น ค่าcontrast ของ จอ LCD ที่เราซื้อๆ กันมาใช้

ทีนี้มันเกี่ยวกับการถ่ายรูปได้ไง

Dynamic Range ที่ตามนุษย์ทำได้? ประมาณ 10,000:1? ยังไม่รวมการหรี่ของม่านตา
ถ้ารวมการหรี่ของม่านตา จะกลายเป็น 1,000,000:1 ซึ่งปรับเปลี่ยนไปมาได้ค่อนข้างรวดเร็ว
ทำให้ Dynamic Range ของมนุษย์ ถือว่าสูงมาก

ขณะที่ Dynamic Range ของเซนเซอร์กล้องดิจิตอลทั่วไป อยู่ที่ประมาณ 1000:1
( ประมาณ 10 stops )
ซึ่งหมายความว่า หากเราถ่ายภาพในสถานะการณ์ที่มีคอนทราสสูงมาก
เราจะได้ภาพแตกต่างจากที่ตาเห็น เพราะอะไรที่เรายังเห็นเป็นสีเทาเข้ม
กล้องจะเห็นเป็นสีดำ อะไรที่เราเห็นเป็นสีเทา อ่อนกล้องจะมองเป็นสีขาว

ตามปกติ จึงเห็นได้ว่า ด้วยข้อจำกัดของกล้อง ที่มี? Dynamic range ต่ำมาก
เมื่อเราเจอสถานการณ์ ที่ แสงแตกต่างกันมาก

จากตัวอย่าง ผมเซ็ตไฟ โดยใช้โคมไฟอ่านหนังสือ ส่องไปที่ด้านหนึ่งของ
โดยมีโทรศัพท์ มือถือ อยู่คนละฝั่งของตัวโคม ทำให้เมื่อปิดไฟห้อง เปิดแต่โคมไฟ
จะเกิด คอนทราส ระหว่างด้านที่โดนแสง และด้านที่ไม่โดน สูงมาก

เมื่อวัดแสงฝั่งที่สว่าง ฝั่งที่ไม่โดนแสงก็จะมืดกลายเป็นสีดำไป

ขณะที่เมื่อวัดแสงฝั่งมืด ฝั่งที่สว่างจะกลายเป็นสีขาว

ในขณะที่การมองด้วยตา เราจะสามารถเห็นภาพของทั้งสองฝั่งพร้อมกันได้

การทำ HDR โดยหลักการแล้ว จึงเป็นการจำลองสภาพที่
ตามองเห็นขึ้นมา โดยการนำภาพที่ถ่ายโดยปรับ Exprosure ต่างกัน
หลายๆระดับ มาประมวลผลรวมกันให้สามารถเห็นรายละเอียดทั้งส่วนที่สว่าง
หรือ มืด ได้คล้ายตามนุษย์มากขึ้น

ผมได้ทดลอง ถ่ายภาพ ที่ต่างกัน 7 stop ( ในภาพเอามาแค่ 6 เพราะจัดหน้าตาง่ายดี )
ตั้งแต่ มืดมาก ถึงสว่างมาก แล้วทำ HDR ในโปรแกรม 2โปรแกรมคือ
Photoshop CS3 และ Photomatix 3 ให้ดู เป็นตัวอย่าง

ซึ่งเป็นวิธีการ ทำ HDR แบบ ตรงๆ ที่เรียกว่า Tone compressor
คือ บีบอัด Dynamic Range สูงๆ มาแสดงในช่วง Dynamic Range ต่ำ

———————————————-
ภาพ HDR จาก Photoshop เราสามารถเห็นรายละเอียดทั้งสองฝั่งพร้อมกันได้
แต่ Contrast ในรายละเอียดจะลดลง เพราะ โดนบีบอัดทำให้ไม่สามารถไล่โทนได้เต็มที่

HDR จากโปรแกรม Photomatix 3

—————————————————-
Tone Mapping เป็นอีกวิธีในการทำ HDR ซึ่งนิยมทำในภาพสามมิติ
ที่เรนเดอร์จาก โปรแกรม 3D หรือ เกมส์ ทั้งหลาย
การทำภาพแบบ tone mapping จริงๆแล้วเรียกได้ว่า เป็นการ “ตัดแปะ” โทนแต่ละช่วงมาต่อกันเป็นภาพใหม่
ทำให้เรารู้สึกเหมือนว่า ยังได้เห็นรายละเอียดทั้งในส่วนที่มืด และสว่างได้
โดย โปรแกรมจะทำการไล่โทนเพื่อให้ภาพโดยรวมยังดูเป็นธรรมชาติ

และจากภาพ Tone Mapping ทำให้ เกิดไอเดียการทำ HDR ปลอม จาก
ไฟล์ RAW ไฟล์เดียว เนื่องจากการที่ File RAW มี bit-depth สูง กว่า Jpgมาก
เราจึงสามารถปรับ โทนช่วงมืดให้ สว่างขึ้น และปรับโทนส่วนสว่างให้ มืดลง จนเห็นรายละเอียด ทั้งภาพ เสมือนหนึ่งว่า มี Dynamic Range สูงขึ้น ซึ่งจริงๆแล้ว หาก Dynamic Range ของสภาพแสงตอนนั้นสูงจริงๆ ก็จะเกิดขอบเขตที่กล้องสามารถจับได้ จนไม่มีรายระเอียดมาให้ปรับ อยู่ดี
—————————————————-
ภาพตัวอย่าง HDR ปลอมๆ จาก RAW ไฟล์



—————————————————-

เดิม การทำ HDR นั่นทำเพื่อให้เราสามารถเก็บรายละเอียดของภาพ
ได้เหมือนตามนุษย์มากขึ้น
แต่ ปัจจุบัน การทำ HDR กลายเป็น หนึ่งในวิธีการสร้างสรรผลงาน
เพี้ยนๆ แปลกตา หรือทำภาพให้ดูเหมือนเกมส์

แนวคิด HDR จึงแบ่งเป็น 2พวกชัดเจนคือ

1.พวกทำให้ ดูไม่ออกว่าเป็น HDR คือทำให้ภาพออกมาสวยเหมือนไปอยู่ในสถานที่จริง ที่ตามองเห็น (ซึ่ง กล้องปกติทำไม่ได้) อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพวก Naturalism หรือ realism

2.พวกที่ทำให้ ดูยังไงก็รู้ว่า HDR คือ ซัดเต็มที่ให้เพี้ยนหลุดโลก ดูเหนือจริง
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพวก Surrealism

————————————————

หาภาพ HDR มันๆ ได้จาก Flickr.com แล้ว search หา “HDR”
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์
— ขั้นตอนการทำ HDR จะมาเขียนให้อ่านในบทความต่อๆไป —
ขอให้สนุกกับ HDR
สวัสดี